siam fishing

สยามฟิชชิ่ง - ชุมชนนักตกปลา

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แอ็คชั่นของคันเบ็ด (Action) - ตกปลา,เลือกเบ็ด Action ที่คันเบ็ด H,MH, M, M-fast,UL ,U


ข้อมูลลึกลงไปอีกนิด : ว่าด้วย " คันเบ็ด"
 การเปรียบเทียบคุณสมบัติ คุณภาพ และลักษณะการใช้งานของคันเบ็ด จะมีสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่ 3 ประการคือ 
1.ความแข็ง หรือ เพาเวอร์ (Power)
2.แอคชั่น (Action)
3.เซนชิติวิตี้ (Sensitivity) 


1.ความแข็ง หรือ เพาเวอร์ (Power) คือขนาดของแรงที่มากระทำต่อคันเบ็ดให้บิดหรืองอโค้ง โดยยึดแรงปฏิกิริยาที่แบล้งค์จะดีดตัวหรือขืนเมื่อมีแรงมาดึงที่ปลายคันเบ็ด มีอยู่ 3 ระดับใหญ่ๆ คือ แข็ง (Heavy), ปานกลาง (
Medium) และอ่อน (Light) ใช้ตัวย่อว่า H,M และ L ตามลำดับ และสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 9 ระดับตามที่บริษัทของ เฟนวิค (Fenwick) กำหนดจนเป็นที่ยอมรับมาตรฐานนี้กันทั่วโลก คือ
กลุ่มอ่อน มี 3 ระดับ คือ Ultra Light, Extra Light, Light
กลุ่มปานกลาง มี 3 ระดับ คือ Medium Light, Medium, Medium Heavy
กลุ่มแข็ง มี 3 ระดับ คือ Heavy, Extra Heavy, Ultra Heavy 

       คันที่มีพาวเวอร์สูงๆ ก็เหมาะที่จะใช้กับสายที่มีความทนแรงดึงสูงๆ แต่ก้ไม่เหมาะกับสายที่มีแรงยืดตัวต่ำๆ(ในกรณีนี้แก้ด้วยการใช้ช็อค ลีดเดอร์)
       ส่วนคันที่มีพาวเวอร์ไม่มาก ก็เหมาะกับสายที่มีความทนแรงดึงน้อยๆ เพราะคันจะเป็นตัวซับแรงกระชากได้ดี


2.แอคชั่น (Action) คือรูปแบบการโค้งตัวของคันเบ็ด แบ่งออกได้ 4 รูปแบบ คือ
Action A หรือ Extra fast เป็นแอ็คชั่นที่แข้งมาก คือเมื่อทดลองโน้มคันเบ็ดดูจะเห็นว่าปลายคันโค้งลงมาได้เพียง 1/4 หรือ 25% ของความยาวทั้งหมด
Action B หรือ Fast เป็นแอ็คชั่นแข้งพอประมาณคันเบ็ดจะโค้งลงมาประมาณ 1/3 หรือ 33% ของความยาวทั้งหมด
Action C หรือ Moderate เป็นแอ็คชั่นปานกลาง คันเบ็ดจะโค้งลงมา 1/2 หรือ 50% ของความยาวทั้งหมด
Action D หรือ Slow เป็นแอ็คชั่นที่อ่อนที่สุด เกือบจะเรียกได้ว่าโค้งเหมือนเครื่องหมายวงเล็บ
คันที่มีแอคชั่นแข็ง ก็เหมาะต่อการส่งเหยื่อที่มีน้ำหนักมากกว่า แต่ก็จะส่งผ่านการรับรู้แรงสั่นสะเทือนด้อยกว่าคันที่มีแอคชั่นอ่อน

3.เซนชิติวิตี้ (Sensitivity) 
คือความไวของคลื่นสัญญาณที่ส่งมาทางปลายสายมาสู่มือผู้ตก ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวของเหยื่อปลอม หรือ ปลาตอด เซนซิติวิตี้ของคันเบ็ดจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่นำมาผลิตเป็นแบล้งค์ ตัวเส้นใย และ
โครงสร้างของเส้นใยที่นำมาทอผสานเป็นผ้า การอัดม้วนที่แน่นเสมอกันตลอดทั้งคัน การอบเนื้อให้แกร่ง เป็นต้น เหล่านี้ล้วนมีผลต่อเซนซิติวิตี้ทั้งนั้นครับ


นี้คือภาพแสดง แอคชั่น (Action)  ของคันนะครับ (ดูกันให้เห็นจะๆกันไปเลยครับ)

Action A หรือ Extra fast เป็นแอ็คชั่นที่แข้งมาก คือเมื่อทดลองโน้มคันเบ็ดดูจะเห็นว่าปลายคันโค้งลงมาได้เพียง 1/4 หรือ 25% ของความยาวทั้งหมด
Action B หรือ Fast เป็นแอ็คชั่นแข้งพอประมาณคันเบ็ดจะโค้งลงมาประมาณ 1/3 หรือ 33% ของความยาวทั้งหมด
Action C หรือ Moderate เป็นแอ็คชั่นปานกลาง คันเบ็ดจะโค้งลงมา 1/2 หรือ 50% ของความยาวทั้งหมด
Action D หรือ Slow เป็นแอ็คชั่นที่อ่อนที่สุด เกือบจะเรียกได้ว่าโค้งเหมือนเครื่องหมายวงเล็บ 

วัสดุที่นำมาทำคันเบ็ด ในปัจจุบันวัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ดถูกคัดสรรปรุงแต่งสังเคราะห์ขึ้นมาอย่างมากมาย ซึ่งก่อให้เกิดคันเบ็ดที่มีคุณสมบัติที่ตรงต่อความต้องการของนักตกปลาและตลาด  มีดังนี้
1.ไม้ไผ่ ไม้ไผ่แม้นักตกปลาในบ้านเราจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันนักก็ตาม แต่สำหรับนักตกปลาในต่างประเทศ คันไม้ไผ่ก็ยังถือว่าเป็นคันเบ็ดที่มีนักตกปลาบางกลุ่มที่นิยมความคลาสสิคเล่นกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกตกด้วยชุดฟลาย
     แต่ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของคันไม้ไผ่ก็คือ ต้องการการดูแลอยู่พอสมควร การจัดเก็บก็ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่รุนแรงมาก เช่น ไม่ปะทะกับแสงแดดโดยตรง ไม่ชื้นจนเกินไป แล้วต้องไม่วางพิงกับผนังไว้นานๆอย่างเด็ดขาด เพราะคันเบ็ดจะโค้งงอตามแนวที่วางพิง
2.  ไฟเบอร์ กลาส เมื่อช่วงการพัฒนาการทางเคมีภัณฑ์และความสำเร็จในการพัฒนาวัสดุสังเคราะห์เป็นไปด้วยดี ในช่วงนี้ผู้พัฒนาคันเบ็ดก็ได้รู้จักกับวัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติที่เสถียรกว่าวัสดุธรรมชาติ แรงดีดแรงงัดก็มีความสม่ำเสมอในทุกๆชิ้นในสายการผลิต
      ข้อดี คันไฟเบอร์ กลาส ถือเป็นคันที่มีประสิทธิภาพรอบด้านในยุคสมัยนั้น แต่เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน คันไฟเบอร์ กลาส กลับมีข้อจำกัดตรงที่มีน้ำหนักมาก ความไวในการส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนค่อนข้างน้อย แต่ด้วยความเหนียวทนทานของไฟเบอร์ กลาส ก็ทำให้เหมาะกับงานสำหรับตกปลาด้วยเหยื่อปลอมขนาดเล็กๆ เช่น  ปลานิล ปลาดุก บ้านเรา นิยิมใช้กันมากเนื่องจาก ราคาค่อนข้างถูก และ มีให้เลือกหลายหลายรุ่น และ ญี่ห้อ อีกทั้งยังใช้งานได้หลากหลาย  ไม่ต้องบำรุงรักษามาก
3.  กราไฟท์ ยุคต่อมาการพัฒนาการด้านเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ดีขึ้น สามารถประสานกราไฟท์ให้ได้เป็นเส้นใย และนำมาทอเป็นผืน แล้วนำมาม้วนรอบแกนแล้วประสานด้วยกาวให้อยู่ตัว คันกราไฟท์ก็ถือกำเนิดขึ้น
       ข้อดีของวัสดุกราไฟท์คือเบา และมีแรงดีดดี และเมื่อนักประดิษฐ์ได้ลองถักทอแผ่นกราไฟท์ด้วยโครงสร้างที่ต่างกันก็เกิดคุณสมบัติของคันเบ็ดที่แตกต่างออกไป แต่ข้อจำกัดของกราไฟท์ก็คือ เป็นวัสดุที่เปราะบาง และเป็นสื่อไฟฟ้า เคยมีกรณีฟ้าผ่าลงคันเบ็ดมาแล้วหลายหน และในที่สุดก็ได้มีการผสมข้ามวัสดุกันระหว่างกราไฟท์ กับไฟเบอร์กลาส ก็ทำให้ได้วัสดุทำคันที่สนองต่อการตลาดมากขึ้น
4. คาร์บอนไฟเบอร์ และเมื่อสามารถนำธาตุกราไฟท์มาถักทอเป็นแผ่นผืนได้ หลังจากนั้นก็ได้มีการศึกษานำเอาวัตถุธาตุอื่นๆมาทอประสานกัน คาร์บอน ก็เป็นอีกหนึ่งวัตถุธาตุที่ได้รับการพัฒนามาจนเป็นคันเบ็ด เช่นเดียวกันกับวัตถุธาตุอื่นๆ เช่น โบรอน เป็นต้น
       ข้อดีของ วัตุธาตุพิเศษเหล่านี้คือ นักประดิษฐ์ได้คัดสรรนำธาตุที่มีความแกร่งและหยืดหยุ่นสูงมาประกอบ อีกทั้งยังมีความเบาเป็นพิเศษ แต่ข้อจำกัดของวัสดุใหม่ๆเหล่านี้คือ ราคาที่สูง เพราะวัสดุเหล่านี้ ยังมีการศึกษาพัฒนาคุณสมบัติอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่เหมาะสมกว่า ทำให้ยังมีวางจำหน่ายให้เห็นอยู่น้อยมากในปัจจุบัน



หากจะเรียก เนื้อคันเบ็ดโดยรวมๆที่ผมเห้นได้จากในตลาดบ้านเราตอนนี้ก็มีประมาณ 3เนื้อที่เห็นได้บ่อยๆ
1. คันเนื้อไฟเบอร์ : เป็นคันที่มักมีเวท และ แอ็คชั่น ค่อนข้างจะอ่อน หรือ ย้วยๆหน่อย โคนคันจะค้อนข้างใหญ่  ราคาถูกและมีให้เลือก ทั้งแบบ คันเบท และ สปิน ด้ามก็มีให้เลือก ทั้งด้าม ก๊อก และ ด้ามยาง ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นคันพื้นฐานของผู้ฝึกหัดตกปลาช่วงแรกๆก็ว่าได้นะครับ ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ต้องการดูแลรักษามาก ราคาถูก  ส่วนมาก ราคาเริ่มต้นที่ 200- 400 กว่าบาท
2. คันเนื้อตัน : ที่เราเคยเห็นจะเป็นคันเนื้อสีเขียวๆ ในปัจจุบัน มีการผลิตคันให้มีสีอื่นๆแล้ว ทั้ง สีใส่ , ดำ , หรือสีกากเพชร ผมก็เคยเห็นมาแล้ว โดยรวมแล้วคันประเภทนี้เป็น คันอะเนอกประสงค์อย่างแท้จริง เพราะมีแอ็คชั่น กลาง-แข็ง  ในส่วนดีที่คนมักนิยมซื้อคันตัน ก็เพราะว่า เป็นคันที่ไม่มีกระดูกคัน กล่าวคือ จะใช้กับรอกเบท หรือ สปินก็ได้ ไม่ต้องเปลี่ยนคัน และ ไม่มีผลต่อการใช้งานคัน มักใช้เป็นคันตกปลาใหญ่ ทั้งทนทาน ตากแดดได้นานไม่กรอบง่ายๆ ราคาคันประมาณ 300-500 กว่าบาท ก็หาซื้อได้แล้วครับ แต่ คันตันมีข้อเสียคือ เรื่องน้ำหนักคันที่ค่อนข้างหนัก จึงมักใช้งานประแภท ตกปลาทะเล หรือ ปลาตามแม่น้ำ ไม่เน้นการตี เพราะคันมีน้ำหนักมากกว่าคันประเทภอื่นๆ จึงอาจทำให้ตี หรือ ส่งเหยื่อได้ไม่ไกลเท่าที่ควร
3. คันเนื้อการ์ไฟ : เป็นคันที่สวย และ เพรียวที่สุด เมื่อเทียบกับคันเนื้ออื่นๆนะครับ หากใครชอบคันที่มีความสาย และ เก็บลายละเอียดดีๆ ก็มักจะเลอืกคันประเทภเนื้อการ์ไฟนี้แหล่ะครับ ส่วนเรื่องญี่ห้อนี้ก็แล้วแต่ใครจะชอบญหีห้อใด เลือกได้ตามสบายใจเลยครับ เพราะเดี่ยวนี้เท่าที่ผมเห็นมา คันViva ด้ามก๊อกเคลือบให้เส็จร แถมยังเป็นเนื้อการ์ไฟ ทำลายผ้าอีกตะหาก ราคาแค่คันละ 990 บาทเอง ที่บอกได้ละเอียดเพราะเพื่อนผมซื้อมา เอาไปอัด สวาย 15 กิโลขึ้นมาแล้ว ไม่มีสะดุ้ง ครับ หากสนใจหาซื้อได้ที่ร้านอุปกรณ์ตกปลาใกล้บ้านท่านได้เลยครับ




ตามความเข้าใจ

H = hard คันแอคชั่นแข็ง 20-40 lb ขึ้นไป ถ้าน้ำหนักเหยื่อ ก็ 190 กรัมขึ้นไป

MH = medium hard คันแอคชั่นปานกลางค่อนข้างแข็ง ส่วนมากจะพบในคันตกปลาสวาย น้ำหนักเหยื่อ 100-140 กรัม สาย 15-30 lb

M =medium คันแอคปานกลาง สาย 8-20 Ib


M-fast medium fast tip เดาเอาเอง คง แอคชั่น ปานกลาง ที่ปลายคัน งอแล้วคืนตัวเร็ว จำพวกคัน ตีเหยื่อปลอม

UL ultra Light 1-6 lb คัน ตกปลาเกร็ด แบบ อัลตร้าไลท์ งอทั้งคัน ก่อนหน้า ul จะมี L = Light tackle

U ultra อันนี้ไม่เคยเจอคับ คันฟลายมั่ง 



Model = รุ่นรหัสของคันเบ็ด Type =ประเภทคัน สปินนิ่ง เบท 
Length (ft) = ความยาวของคัน(ฟุต) Guide = ห่วงไกด์ที่ใช้ยี่ห้ออะไร
Seat = ขายึดรอก ยี่ห้ออะไร Lure wt (oz) = น้ำหนักเหยื่อที่ใช้กับคันเบ็ด (ออนซ์)
Action = ความโค้งงอของคันเบ็ด MH ปานกลางค่อนข้างแข็ง Line = เหมาะกับสายเอ็น (ปอนด์)
Price = ราคา

แอ็คชั่นของคันเบ็ด

คันเบ็ดโดยมากในตลาดมัก ระบุ Rod Power แยกได้ดังนี้
1. Ultra light ใช้กับสายเบ็ดแรงดึงประมาณ 2-8 ปอนด์ l = light อ่อน
2. Medium light ใช้กับสายเบ็ดแรงดึงประมาณ 6-12 ปอนด์ ml = medium light อ่อนปานกลาง
3. Medium ใช้กับสายเบ็ดแรงดึงประมาณ 8-14 ปอนด์ m = medium กลางๆกำลังดี
4. Medium Heavy ใช้กับสายเบ็ดแรงดึงประมาณ 8-16 ปอนด์ mh = medium heavy แข็งปานกลาง
5. Heavy ใช้กับสายเบ็ดแรงดึงประมาณ 10-20 ปอนด์ h = heavy แข็ง
6. Extra Heavy ใช้กับสายเบ็ดแรงดึงประมาณ 12-25 ปอนด์ ขึ้นไป xh = extra heavy โคตะระแข็ง

       แต่เดิมเริ่มแรกที่มนุษยชาติรู้จักการตกปลา สิ่งต่อมาที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสายเบ็ด และตัวเบ็ดก็คือ คันเบ็ด ด้วยแนวคิดที่อยากจะส่งเหยื่อออกไปให้ห่างตัวมากขึ้นนั้นเอง และเมื่ออยากส่งเหยื่อออกไปให้ห่างมากขึ้นๆก็จึงได้คิดค้นอุปกรณ์การม้วนเก็บสายเบ็ดนั่นก็คือรอกตกปลาขึ้นมาด้วย
       คันเบ็ด ในยุคแรกเริ่มทำจากวัสดุอะไรถ้าจะว่ากันตามหลักฐานที่นักมานุษยวิทยาว่าไว้ก็ไม่มีข้อชี้ชัดแต่อย่างใด วัสดุที่ใช้สร้างคันเบ็ดในสมัยโบราณเป็นวัสดุที่มีในธรรมชาติ ซึ่งป่านนี้ก็คงผุพังเปื่อยยุ่ยไปจนไม่เห็นซาก คงได้เพียงแต่สันนิษฐานเอาว่าน่าจะเป็นไม้ไผ่ เพราะไผ่เป็นไม้ที่มีอยู่มาก คุณสมบัติพิเศษคือ เหนียว เบา และมีความยาวที่เพียงพอ แรกๆก็คงใช้ไม้ไผ่ตามที่มีอยู่ในธรรมชาติก่อน แล้วจากนั้นจึงได้พัฒนาผ่าไม้ไผ่ออกเป็นส่วนเล็กๆแล้วนำมาประกอบให้ได้คันเบ็ดที่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น สามารถควบคุมรูปทรงได้ง่ายขึ้น
       ต่อมา เมื่อมีการคิดค้นอุปกรณ์ม้วนเก็บสายเบ็ด สิ่งที่ถือกำเนิดต่อมาก็คือ ห่วงร้อยสายหรือว่าไกด์ แล้วเมื่ออุปกรณ์ม้วนสายเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ตัวจับยึดอุปกรณ์ม้วนสายจึงถือกำเนิดขึ้นมา จนกระทั่งมนุษย์มีการเดินทางมากขึ้น เพื่อความสะะดวกในการนำคันเบ็ดไปไหนต่อไหน อุปกรณ์ช่วยลดและต่อความยาวคันเบ็ดจึงถูกประดิษฐ์ขึ้นมา และเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่นห่วงคล้องเบ็ด หรือว่าร่องแฉกที่โคนคันไว้สำหรับล็อคกับเข็มขัดสู้ปลา หรือกระบอกปักคัน ก็เกิดตามๆมา

ส่วนประกอบต่างๆของคันเบ็ด
       ทีนี้ เมื่ออุปกรณ์ม้วนเก็บสายเบ็ดหรือว่ารอกได้รับการพัฒนารูปทรงไปแล้ว คันเบ็ดก็ได้รับการพัฒนาอย่างควบคู่กับรอกไปด้วยกัน จึงทำให้คันเบ็ดมีความแตกต่างอย่างมากมายในปัจจุบัน ซึ่งแยกออกชัดๆได้ดังนี้
       คันชิงหลิว คันเบ็ดแบบนี้คงสภาพของคันเบ็ดสมัยแรกเริ่มไว้เกือบครบถ้วน เพียงแต่ได้รับการพัฒนาการทางงานวัสดุเข้าไป ในปัจจุบัน คันชิงหลิวนี้ได้รับการพัฒนาไปมาก ทำให้คันเบ็ดเหล่านี้ สามารถตกปลาขนาดใหญ่ๆได้ โดยที่คันเบ็ดเรียวบางและเบามากขึ้น
       คันฟลาย รอกเก็บสายในยุคแรกๆ เป็นอุปกรณ์เก็บสายเบ็ดแบบเรียบง่าย พอได้รับการใส่ขารอกและแขนหมุนเข้าไป รอกฟลายก็ได้ถือกำเนิดขึ้น และพร้อมกันนั้น คันฟลาย อุบัติขึ้นพร้อมๆกัน
       แม้กระทั่งในปัจจุบัน คันฟลายก็ยังคงความดั้งเดิมเอาไว้ได้มาก ไกด์แบบโครงลวด ที่ยึดรอกแบบแหวนปล่าวๆที่ไม่ต้องใช้เกลียว ก็ยังพบว่าเป็นส่วนประกอบของคันฟลายในปัจจุบันอยู่หลายๆรุ่น

       คันคาสติ้ง และเมื่อรอกตกปลาได้รับการพัฒนาขึ้นไปอีก โดยมีการประดิษฐ์เฟืองทดรอบเพื่อช่วยให้การเก็บสายทำได้สะดวกขึ้น จุสายได้มากขึ้น ไกเหนี่ยวเพื่อช่วยในการยึดจับจึงเกิดขึ้น แล้วก็กลายเป็นคันคาสติ้งประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคันสำหรับรอกเบทคาสติ้ง หรือคันสำหรับรอกสปินคาสติ้ง
       คันสปินนิ่ง ต่อมาเมื่อรอกได้ถูกประดิษฐ์ให้มีขาที่ยื่นแกนของหลอดเก็บสายให้ห่างออกมาจากแนวของคันเบ็ดแล้ว ไกเหนี่ยวที่ใช้ช่วยยึดจับจึงหมดความจำเป็นไป แต่ไกด์ต้องยึดตัวออกมารับแนวสายที่ห่างออกมาจากแนวคันมากขึ้น ตอนนั้นคันสปินนิ่งก็ถือกำเนิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
       คันเซิร์ฟ แล้วเมื่ออยากที่จะส่งเหยื่อให้ไกลออกไปอีก คันที่มีขนาดยาว รวมถึงด้ามที่มีขนาดยาว ก็เกิดขึ้นเพื่อรองรับความต้องการนี้ คันแบบนี้เรียกกันว่า คันเซิร์ฟ ครับ
       คันเซิร์ฟนี้ มีทั้งแบบที่ใช้กับรอกสปินนิ่ง และรอกเบทคาสติ้งครับ

       คันไอซ์ฟิชชิ่ง แต่ใช่ว่าจะผลิตแต่เพียงคันเบ็ดที่ยาวๆเพื่อให้ส่งเหยื่อออกไปไกลๆเท่านั้น ยังมีคันบางประเภท ที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างสั้นๆ โดยมากจะยาวไม่เกิน 3 ฟุต เพื่อใช้ในการที่ไม่ต้องส่งเหยื่อออกไปไกล แต่ต้องการใช้สำหรับหย่อนเหยื่อลงในแนวดิ่งบนพื้นที่แคบๆอย่างเช่น รูที่ขุดบนผิวทะเลสาบที่แข็งแล้ว
       แน่นอนว่า คันเบ็ดแบบนี้ มีทั้งสำหรับรอกสปินนิ่ง และรอกเบทคาสติ้งเช่นกัน

       คันทรอลลิ่ง คันบางคันถูกสร้างขึ้นมาอย่างแข็งแรง ดูบึกบึน ไกด์ หรือขายึดรอกต้องใหญ่และแข็งแรง เพื่อใช้กับงานหนักๆ เช่นไว้ลากเหยื่อตัวใหญ่ๆสำหรับปลาตัวโตๆในทะเล ซึ่งปลาบางตัวอาจหนักเป็น 100 กิโลกรัม!!!
       คันสแตนด์ อัพ คันแบบนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ตกบนเรือที่มีคนตกปลาในทะเลพร้อมกันทีเดียวมากๆ คันที่ยาวเก้งก้างอาจเป็นอุปสรรคให้ฅนรอบข้างได้ คันแบบนี้จึงได้ถูกพัฒนาขึ้น
       ลักษณะของคันแบบนี้จะมีความยาวไม่มาก แต่มีด้ามมือจับที่ค่อนข้างยาว เพื่อให้นักตกปลาได้ทดแรงตอนสู้ปลา แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก

       คันจิ๊กกิ้ง ต่อมาเมื่อสายเบ็ดได้รับการพัฒนาให้มีความทนแรงดึงสูงขึ้น รอกตกปลามีความแข็งแรงมากขึ้น สามารถนำไปใช้กับปลาใหญ่ๆได้มั่นใจขึ้น คันเบ็ดก็ได้รับการพัฒนาขึ้นตาม
       คันจิ๊กกิ้ง ถือเป็นคันเบ็ดสมัยใหม่ที่ยังมีพัฒนาการอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งเทคนิคการกลับไกด์ตัวใกล้รอกสำหรับคันประเภทสปินนิ่งเพื่อเลี่ยงปัญหาสายไปพันกับไกด์ เป็นต้น




       ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงตัวอย่างของประเภทของคันส่วนหนึ่ง แต่เรื่องที่สำคัญที่นักตกปลา
ควรรู้เกี่ยวกับคันเบ็ดก็คือ คุณสมบัติของคันเบ็ดนั้นๆว่ามีคุณสมบัติอย่างไร

       ภาพด้านบนนี้ ภาพแนวตั้งเป็นภาพของสัดส่วนและส่วนประกอบของคันเบ็ด ส่วนภาพแนวนอนจะเป็นภาพของแบบแผ่นผืนที่จะนำมาม้วนเป็นคันเบ็ด
       คุณสมบัติของคันเบ็ด โดยทั่วไปนักตกปลาจะดูคุณสมบัติของคันเบ็ดในด้านต่างๆเช่น น้ำหนักของคันเบ็ด, ความแข็ง-อ่อน, แรงดีด-แรงงัด, ความไวในการส่งผ่านแรงสั่นสะเทือน, แล้วก็ความทนทานของคันเบ็ด ซึ่งคุณสมบัติทั้งหลายเหล่านี้ล้วนขึ้นอยู่กับปัจจัยจาก



1. วัสดุหลักที่ใช้ทำคันเบ็ด
2. อุปกรณ์ประกอบต่างๆที่อยู่บนคันเบ็ด
3. มิติของคันเบ็ด



       จากแค่ 3 ส่วนนี้ ก็เพียงพอต่อการบ่งชี้ว่าคันเบ็ดใดมีคุณสมบัติอย่างไร
       1.วัสดุที่นำมาทำคันเบ็ด ในปัจจุบันวัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ดถูกคัดสรรปรุงแต่งสังเคราะห์ขึ้นมาอย่างมากมาย ซึ่งก่อให้เกิดคันเบ็ดที่มีคุณสมบัติที่ตรงต่อความต้องการของนักตกปลาและตลาด จึงขอยกตัวอย่างโดยสังเขปดังต่อไปนี้

       ไม้ไผ่ ไม้ไผ่แม้นักตกปลาในบ้านเราจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันนักก็ตาม แต่สำหรับนักตกปลาในต่างประเทศ คันไม้ไผ่ก็ยังถือว่าเป็นคันเบ็ดที่มีนักตกปลาบางกลุ่มที่นิยมความคลาสสิคเล่นกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกตกด้วยชุดฟลาย
       คันไม้ไผ่ เป็นคันที่มีความขลังในตัว เป็นดนตรีก็เทียบกับฟังเพลงจากวงซิมโฟนี ออร์เคสตร้า เต็มวง
       แต่ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของคันไม้ไผ่ก็คือ ต้องการการดูแลอยู่พอสมควร การจัดเก็บก็ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่รุนแรงมาก เช่น ไม่ปะทะกับแสงแดดโดยตรง ไม่ชื้นจนเกินไป แล้วต้องไม่วางพิงกับผนังไว้นานๆอย่างเด็ดขาด เพราะคันเบ็ดจะโค้งงอตามแนวที่วางพิง

       ไฟเบอร์ กลาส เมื่อช่วงการพัฒนาการทางเคมีภัณฑ์และความสำเร็จในการพัฒนาวัสดุสังเคราะห์เป็นไปด้วยดี ในช่วงนี้ผู้พัฒนาคันเบ็ดก็ได้รู้จักกับวัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติที่เสถียรกว่าวัสดุธรรมชาติ แรงดีดแรงงัดก็มีความสม่ำเสมอในทุกๆชิ้นในสายการผลิต
       คันไฟเบอร์ กลาส ถือเป็นคันที่มีประสิทธิภาพรอบด้านในยุคสมัยนั้น แต่เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน คันไฟเบอร์ กลาส กลับมีข้อจำกัดตรงที่มีน้ำหนักมาก ความไวในการส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนค่อนข้างน้อย แต่ด้วยความเหนียวทนทานของไฟเบอร์ กลาส ก็ทำให้เหมาะกับงานสำหรับตกปลาด้วยเหยื่อปลอมขนาดเล็กๆ เช่น ปลาเทร้า ซึ่งสำหรับผม ผมมักจะใช้คันไฟเบอร์ กลาสสำหรับงานสายเล็ก พวก 3-4 ปอนด์สำหรับตกปลากล็ดด้วยทุ่นชิงหลิว (หรือบางทีก็เอาไปตกปลากะพงบ่อเหมือนกัน)

       กราไฟท์ ยุคต่อมาการพัฒนาการด้านเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ดีขึ้น สามารถประสานกราไฟท์ให้ได้เป็นเส้นใย และนำมาทอเป็นผืน แล้วนำมาม้วนรอบแกนแล้วประสานด้วยกาวให้อยู่ตัว คันกราไฟท์ก็ถือกำเนิดขึ้น
       ข้อดีของวัสดุกราไฟท์คือเบา และมีแรงดีดดี และเมื่อนักประดิษฐ์ได้ลองถักทอแผ่นกราไฟท์ด้วยโครงสร้างที่ต่างกันก็เกิดคุณสมบัติของคันเบ็ดที่แตกต่างออกไป แต่ข้อจำกัดของกราไฟท์ก็คือ เป็นวัสดุที่เปราะบาง และเป็นสื่อไฟฟ้า เคยมีกรณีฟ้าผ่าลงคันเบ็ดมาแล้วหลายหน และในที่สุดก็ได้มีการผสมข้ามวัสดุกันระหว่างกราไฟท์ กับไฟเบอร์กลาส ก็ทำให้ได้วัสดุทำคันที่สนองต่อการตลาดมากขึ้น

       คาร์บอนไฟเบอร์ และเมื่อสามารถนำธาตุกราไฟท์มาถักทอเป็นแผ่นผืนได้ หลังจากนั้นก็ไ้ด้มีการศึกษานำเอาวัตถุธาตุอื่นๆมาทอประสานกัน คาร์บอน ก็เป็นอีกหนึ่งวัตถุธาตุที่ได้รับการพัฒนามาจนเป็นคันเบ็ด เช่นเดียวกันกับวัตถุธาตุอื่นๆ เช่น โบรอน เป็นต้น
       ข้อดีของ วัตุธาตุพิเศษเหล่านี้คือ นักประดิษฐ์ได้คัดสรรนำธาตุที่มีความแกร่งและหยืดหยุ่นสูงมาประกอบ อีกทั้งยังมีความเบาเป็นพิเศษ แต่ข้อจำกัดของวัสดุใหม่ๆเหล่านี้คือ ราคาที่สูง เพราะวัสดุเหล่านี้ ยังมีการศึกษาพัฒนาคุณสมบัติอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่เหมาะสมกว่า
       2. อุปกรณ์ประกอบต่างๆที่อยู่บนคันเบ็ด นอกจากปัจจัยด้านวัสดุและโครงสร้างการประสานของวัสดุที่นำมาสร้างเป็นคันเบ็ดแล้ว อุปกรณ์ประกอบต่างๆบนคันเบ็ด ก็ล้วนแต่ส่งผลต่อคุณสมบัติของคันเบ็ดทั้งสิ้น เช่น

       รีลซีท หรือที่เรียกว่าตัวยึดขารอก ความสำคัญของรีลซีทนี่แทบจะเป็นตัวกำหนดประเภทของคันนั้นๆ ว่าจะเป็นคันสำหรับ สปินนิ่ง, คาสติ้ง, ทรอลลิ่ง ฯลฯ
       วัสดุที่ใช้ทำรีลซีทก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไม้ก๊อก อลูมิเนียม พลาสติก แต่ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ดูเหมือนจะเป็นรีลซีทที่ทำจากกราไฟท์ เนื่องจากมีความทนทานและง่ายต่อการดูแลรักษา อีกทั้งยังมีรูปทรงที่หลากหลายไว้สนองต่อความต้องการอีกด้วย

       ไกด์ หรือว่าห่วงนำสายเบ็ด นี่ก็เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณสมบัติของคันเบ็ดเป็นอย่างมาก นอกจากไกด์จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าไกด์แบบใดเมื่อติดตั้งไปบนคันใดแล้ว คันเบ็ดนั้นก็เหมาะสมจะใช้กับอุปกรณ์ประเภทใด ดีไซน์ของไกด์ก็ยังมีส่วนต่อประสิทธิภาพของคันเบ็ดนั้นๆอีกด้วย
       วงแหวนส่วนที่สัมผัสกับสายเบ็ดก็มีความสำคัญเช่นกัน วัสดุที่ใช้ทำวงแหวนต้องเหมาะต่อสายเบ็ดที่จะใช้งานด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็คงต้องยกให้ ซิลิคอน คาร์ไบด์ ว่าเหมาะสมต่อสายเบ็ดเกือบทุกประเภท
       ตำแหน่งของไกด์แต่ละตัว มีความสำคัญต่อการส่งถ่ายพลังของคันอย่างถึงที่สุดด้วย
       เพราะฉะนั้น ประเภทของไกด์ที่เหมาะสม วางบนตำแหน่งที่เหมาะสม แม้แต่คันที่ทำจากวัสดุธรรมดาๆก็กลายเป็นสุดยอดคันเบ็ดได้

การวางไกด์อย่างสไปรอน ว่ากันว่าจะช่วยให้คันแสดงประสิธิภาพสูงสุด
       3. มิติของคันเบ็ด ไม่ว่าจะเป็นความยาว อัตราเรียว ลำหักลำโค่น เหล่านี้ล้วนแต่มีผลต่อคุณสมบัติของคันเบ็ดโดยตรง เช่น สมมติเงื่อนไขว่าตัวแปรอื่นๆอยู่บนค่าเดียวกัน คันที่ยาวก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะส่งเหยื่อไปได้ไกลกว่าคันสั้น แต่คันที่ยาวกว่าก็จะเก้งก้างไม่เหมาะสมต่อพื้นที่ที่มีอุปสรรคกีดขวาง หรือคันที่อวบโตและหนากว่าก็ย่อมจะแข็งกว่าคันที่เพียวเรียวกว่า แต่ในขณะเดียวกันคันที่อวบหนากว่าก็ย่อมจะมีน้ำหนักมากกว่า หรือคันที่สร้างจะวัสดุที่ดีกว่าและผ่านกระบวนการที่ประณีตย่อมมีประสิทธิภาพและคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อความต้องการมากกว่า แต่ก็จะมีราคาที่สูงกว่า อย่างนี้เป็นต้น




       นอกจากมิติที่มองเปรียบเทียบได้ด้วยสายเปล่าอย่างที่กล่าวไปแล้ว แอคชั่นของคันก็ถือเป็นอีกหนึ่งมิติที่นักตกปลาจะต้องนำมาประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้คันเบ็ดหนึ่งๆด้วย
       คันที่มีแอคชั่นแข็ง ก็เหมาะต่อการส่งเหยื่อที่มีน้ำหนักมากกว่า แต่ก็จะส่งผ่านการรับรู้แรงสั่นสะเทือนด้อยกว่าคันที่มีแอคชั่นอ่อน

       อนึ่ง แรงดีดแรงงัดของคัน ก็เป็นอีกหนึ่งมิติที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นแต่ก็สำคัญไม่แพ้กันเช่นกัน
       คันที่มีพาวเวอร์สูงๆ ก็เหมาะที่จะใช้กับสายที่มีความทนแรงดึงสูงๆ แต่ก้ไม่เหมาะกับสายที่มีแรงยืดตัวต่ำๆ(ในกรณีนี้แก้ด้วยการใช้ช็อค ลีดเดอร์)
       ส่วนคันที่มีพาวเวอร์ไม่มาก ก็เหมาะกับสายที่มีความทนแรงดึงน้อยๆ เพราะคันจะเป็นตัวซับแรงกระชากได้ดี

       ด้วย 3 องค์ประกอบนี้ ก็น่าจะช่วยให้นักตกปลาตัดสินใจเลือกคันเบ็ดที่เหมาะสมกับงานแต่เหมาะสมต่อตัวเองได้ไม่ยาก






13 ความคิดเห็น:

  1. ใด้ประโยชน์มากครับสำหรับมือใหม่แบบผม

    ตอบลบ
  2. ได้ความรู้มากเลยครับ������

    ตอบลบ
  3. ได้ความรู้มากเลยครับ����

    ตอบลบ
  4. คันแบบไหนส่งเหยื่อได้ไกลดีครับ

    ตอบลบ
  5. ได้ควมรู้ข้เยอะเลยคับ Thank You

    ตอบลบ
  6. ความรู้เน้นๆเลยครับ เยี่ยม

    ตอบลบ
  7. ได้ความรุ้มากๆเลยคับ...หาเพื่อนนักตกผลามือใหม่มาแลกประสบการณ์กันด้วยนะคับ

    ตอบลบ
  8. เบส10ฟุตแอ็คชั่น Heavy หาซือได้ที่ไหนบ้างครับผม

    ตอบลบ
  9. สวัสดีครับแล้วถ้าเวท 10-30จะแข็งมากไหมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความแข็งประมาณนี้อยู่ในช่วงกลางๆ ครับ ส่วนใหญ่เป็น คันหน้าดิน ครับ

      ลบ
  10. 5-18ละครับใช้ตีเหยื่อปลอมได้ใหม

    ตอบลบ
  11. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  12. เวท 3/8-1 1/4oz.Lure 17/40lb.Line แข็งมากมั้ยครับ ใช้เหยื่อกี่กรัมครับ

    ตอบลบ

 

Blogger news

Blogroll